หากคุณลองค้นหาเว็บไซต์ที่อยู่ใน Industry หรือ เว็บไซต์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเดียวกับเว็บไซต์ของคุณ จะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้ว โครงสร้างและเนื้อหาในเว็บไซต์ไม่ได้แตกต่างกันนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บไซต์ที่เป็น Corporate Website แล้ว แนวทางในการนำเสนอข้อมูลในเว็บก็หาความแตกต่างได้ยาก

computer-web.gifจากประสบการณ์ที่ได้ผ่านเว็บไซต์ประเภท Corporate Website มาก็หลาย Website ทำให้ผมหวลคิดถึงวิธีที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ในอดีต หลายๆครั้งผมมักจะใช้ website ของคู่แข่งในการเป็น Benchmark หรือตัวเปรียบเทียบผสมผสานกับการระดมความคิดจากเจ้าของ Content อย่างเช่นถ้าเจ้าของ content เป็นฝ่ายดูแลผลิตภัณฑ์ ทางผู้ดูแลผลิตภัณฑ์ก็จะนำข้อมูลสินค้าออกมานำเสนออย่างที่ผู้ดูแลต้องการ หรือ ผู้บริหารระดับสูงอยากนำข้อมูลสำคัญที่ผู้ชมเว็บควรรู้ก็จะนำเสนอออกมาอย่างตรงไปตรงมา จนบางครั้งละเลย ความต้องการที่แท้จริงของผู้ชมเว็บไซต์ ซึ่งการสร้างเว็บไซต์โดยวิธีนี้ ผมขอเรียกมันว่า การสร้างเว็บไซต์แบบ Inside-Out ซึ่งเป็นการสร้างเว็บไซต์โดยผ่านความคิดของกลุ่มผู้พัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งผลที่ได้นั้น เมื่อผู้ชมเข้าเว็บไซต์แล้วกับไม่ได้ทำให้ผู้ชมติดตามเว็บไซต์ต่อหรืออ่านหน้าเว็บเพียงผ่านไป เหตุผลก็เพราะ สิ่งที่เรานำเสนอนั้นจริง ๆ แล้วถูกใจเรา แต่ไม่ได้ถูกใจผู้ชมเสมอไป

ดังนั้น การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยวิธีกลับกันจึงเกิดขึ้นซึ่งผมขอมันเรียกว่า ” การสร้างเว็บไซต์แบบ Outside-In “ การสร้างเว็บไซต์แบบนี้เป็นการมุ่งสร้างแรงดึงดูดให้กับเว็บไซต์ และทำให้ผู้ชมอยู่กับเว็บไซต์เรานานขึ้น แต่การที่จะทำให้เกิดจุดนั้นได้ เราจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ด้วยการตั้งคำถามว่า หากคุณเป็นกลุ่มเป้าหมาย คุณอยากรู้อะไร อยากได้อะไรจากเว็บไซต์ของเรา

แน่นอน มันคือความท้าทาย เพราะเราจะต้องเริ่มถอดความคิดของเราออกมาแล้วให้กลุ่มเป้าหมายมาอยู่ในความคิดเราแทน แต่สำหรับ webmaster หรือ Web Developer มันก็น่าท้าทาย ใช่มั้ยครับ

Tags: , , , ,

วันนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้นั่งคุยกับอดีต CMS Developer ซึ่งเข้ามาเป็นพนง. ใหม่ในบริษัท เขาได้ทำการวิเคราะห์ website ของบริษัทที่ผมทำงานอยู่ปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่เขาวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็ตรงกับที่ผมได้เคยทำไว้ มีอยู่ข้อหนึ่งที่ผมและทีมไม่เคยนึกมาก่อนคือเรื่องการออกเสียง Domain Name

หลายบริษัทที่กำลังบุกตลาดต่างประเทศ มักจะจดชื่อบริษัทหรือชื่อสินค้าที่เป็นภาษาไทยเป็น Domain Name เช่น Bumrungrad.com เป็นของรพ.บำรุงราษฎร์ ซึ่งเป็นเว็บที่เขาทำให้ในส่วนของ International, mahaphant.com เป็นของกลุ่มบริษัทมหพันธ์ เจ้าของสินค้าห้าห่วงและไม้เฌอร่า หรือ ถ้าสมมติ sanook จะ go inter กับเขาบ้างแต่ยังใช้ Domain Name เดิมคือ sanook สิ่งที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายต่างชาติอาจฉงน เมื่อเจอกับชื่อเว็บเหล่านี้ได้แก่ การออกเสียงที่อาจจะไม่ตรงกับที่เจ้าของ domain name อยากให้ออกเสียง

อย่างคุณฝรั่งพนักงานใหม่นี้ ทีแรกแกออกเสียง bumrungrad เป็น บำ-รุง-แรด (ขออภัยครับถ้าออกเสียงหยาบ) หรือ mahaphant แรกๆแกก็อ่าน มะ-หะ-แฟน ไม่ยักรู้ว่าคุณฝรั่งมีแฟนอยู่แถวๆที่เราคุยกันหรีอไงก็ไม่ทราบ แต่สำหรับตัวอักษร PH ในภาษาอังกฤษจะออกเสียงเทียบได้กับตัว ฟ.ฟันของไทยเรา ไม่เชื่อคุณก็อ่านคำนี้ดูซิ “Elephant”, “Philosophy”

bumrungrad

วิธีแก้ของคุณฝรั่งคนนี้ก็คือ ใส่คำอ่านเข้าไป และใส่ความหมายของคำนั่นเข้าไปด้วยทำให้ domain name ดูมีความหมายมากขึ้น ซึ่งสามารถเข้าไปดูได้ที่หน้า About US ของ bumrungrad.com ก็จะเห็นประโยค

What does ‘Bumrungrad’ mean? This Thai word – pronounced Bahm-roong-RAHT – means “care for the people” 

เห็นมั้ยล่ะครับว่า การใส่วิธีการออกเสียง หรือที่เรียกว่า ” Pronunciation ” เข้าไปทำให้ Domain Name ดูมีความหมายลึกซึ่งและสื่อถึง Brand แค่ไหน

Tags: , , , , , ,

WordPress ตั้งแต่เวอร์ชั่น 1.5 ขึ้นไปมีfeature ที่ช่วยให้แต่งแต้มสีสัน post ของเราด้วย Emoticons หรือ อีกนัยหนึ่งคือ เครื่องหมายแสดงอารมณ์ เช่น หากเราต้องการแสดง อารมณ์ยิ้ม==> :)  แบบนี้ เราก็สามารถพิมพ์  ” :) ”  ได้เลย Script ของ WordPress มันจะแปลง text ให้เป็น icon แสดงอารมณ์ให้เราทันที

แต่การที่จะให้มันแสดง Emoticons โดยอัตโนมัติเราต้องไปกำหนดให้ใช้ feature นี้ก่อนโดย Read More →

หลังจากที่ msn ได้เปิดให้บริการเว็บไซต์ msn ในเวอร์ชั่นภาษาไทย (msn.co.th) กว่า 2 ปี ก็ถึงคราวของ Yahoo! Portal Site ระดับโลกได้ฤกษ์ออกเวอร์ชั่นไทยบ้างแล้วชื่อ yahoo.co.th

สำหรับ การออกแบบหน้าตาของเว็บรวมถึงฟังก์ชั่นการใช้งานของยาฮูไทยก็ไม่ค่อยต่างจากของเว็บหลักของยาฮูเท่าใดนัก จะต่างก็ตรง Content ที่เป็นภาษาไทยเท่านั้น แต่สิ่งที่ yahooไทยต้องเผชิญคือ Local Portal site อย่าง sanook, kapook, หรือ ที่นี่ ฯลฯ ที่ยังคงยึดหัวหาดพอร์ทัลไซต์ไทยอย่างแข็งแกร่ง คงต้องออกแรงมากกว่านี้เพราะ เท่าที่ดูนะวันนี้ลำพัง design และ usablity ของเว็บอาจจะยังไม่ถูกใจคนไทยเท่าไหร่นัก

 อย่างไรก็ดี นี่เป็นเพียงบทเริ่มต้นของ yahoo ในไทยเท่านั้นเอง เราคงต้องรอดูอีกยาว ๆ ว่าทาง yahoo จะมีไม้เด็ดอะไรเพื่อดึงใจนักท่องเน็ตชาวไทยเข้ามาสนใจ yahoo มากขึ้นมากกว่า yahoo messenger ทีมีอยู่

Yahoo & MSN

อ่านข่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ yahoo ไทยเวอร์ชั่นได้ที่

Tags: ,,,,,,

เข้าไปอ่านเว็บบล๊อกของ Keng.com ซึ่งเป็นบล๊อกไทยที่ว่าด้วยเรื่องราวของ BLOG ล้วนๆ ล่าสุดเค้าแนะนำและมีวิธีติดตั้ง WordPress ซึ่งเป็น Blog Software แบบฟรี! ที่มี Plugin มากมายให้เลือกใช้ เว็บนี้เองก็ใช้ WordPress เช่นกัน เข้าไปดูที่หัวข้อ