ในการทำ Facebook Ads หรือ โฆษณาบน Facebook เป้าหมายหนึ่งคือ เมื่อกลุ่มเป้าหมายเห็น Ads แล้ว ก็คลิ๊กแล้วไปที่หน้าสินค้า และสั่งซื้อสินค้าจากเรา

หลายครั้งผมเห็นข้อผิดพลาดที่มักทำให้ Click – Through-Rate(CTR) สูงแต่กลับขายของได้ไม่ดี
ลองดูที่ภาพข้างล่างซิครับ

ข้อผิดพลาดที่ในการทำ Facebook Ads

adsที่ 1  – เมื่อคุณเห็น Ads จุดแรกที่เห็นคือ ลำโพงที่เหมือนจะเป็นลำโพง Bluetooth และ ตามด้วยหัวเรื่อง ad – ถูกกว่านี้ก็ฟรีแล้ว จากนั้นก็อ่านรายละเอียดทางขวา บอกเราว่า ลดถล่มแบบไม่สนใจ จาก 1,190 บาท เหลือ 599 บาท คลิกเลย แต่พอคลิก ไปยัง Landing Page กลับเจอหน้าแรก ผลคือ ในหน้านั้นมี สินค้าที่ตรงกับที่เราต้องการ แถมยังมีสินค้าให้เลือก หลากหลาย ผลคือ ลูกค้าหาสินค้าลำโพงตัวนั้นไม่เจอ หรือกว่าจะก็หมด Feeling จะซื้อพอดี

adsที่ 2- เห็นภาพสัตว์น่ารัก หัวเรื่อง ads บอกว่า “บริการณาปนกิจสัตว์เลี้ยง” ส่วนรายละเอียด – “ณาปนกิจสัตว์เลี้ยงแสนรัก การให้ครั้งสุดท้ายสำหรับเพื่อนที่ซื่อสัตย์และแสนดี” จากนั้นเมื่อคลิก Ads ก็พาเราไปหน้าที่ บอกว่า Service คือ บริการณาปนกิจสัตว์เลี้ยง บอกเบอร์โทร และ สถานที่ และ content ที่พอจะทำให้ปิดการขายได้

ฉะนั้น การทำ Landing Page ที่พุ่งตรงไปยังสินค้าที่เราลง Ads ไว้ โอกาสที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจย่อมลดลง แถมทำให้ ROI ในส่วนของ Order/ad Cost เพิ่มขึ้นด้วยครับ

จำไว้เสมอครับ เวลาเราลง Online Ads ไม่ใช่เพียงแค่ Facebook ads พวก  Adwords ของ Google  หรือ Email Marketing Ads ก็ใช้หลัก “หลักการบีบให้จอด” โดยการทำ Ads ให้ตรงเป้าหมาย ตรงกับ Ads มากที่สุด

“หลักการบีบให้จอด” ผมเปรียบเหมือน เวลาคุณขับรถไปจอดในตอนก่อนเปิดห้าง หรือ ที่ๆจอดรถ 100 คัน ตอนที่เข้าไปจอด มีที่จอดเหลือ 99  ที่ หากคุณไม่เคยมีที่ประจำ เวลาเราไปจอด ก็จะเห็นว่า ในสมองจะบอก จอดตรงนั้นก็ดี จอดตรงนี้ก็ดี เลือกไม่ถูก แม้จะจอดไปแล้ว แต่ก็นึกๆดูอีกที อีกที่ดีกว่า แต่ถ้าเปลี่ยน ห้างหรือตึกน้ัน ตั้งป้าย ที่จอดนี้ดีที่สุด 2 ที่เวลานี้ เราก็จะเลือกจอด 1 ใน 2 ที่ ตรงเป้าหมายของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายคนขับก็สบายใจมีคนแนะนำ ฝ่ายอาคารก็สบายใจ จอดกันไม่สเปะสปะ

การทำ  Landing ก็เหมือนกันครับ Landing Page คือหน้าเว็บที่คุณต้องการพากลุ่มเป้าหมายไปหน้านั้น หากคุณต้องการปิดการขายสินค้าตัวใดก็พาไปที่ตัวนั้นหน้านั้น ส่วนจะขายอย่างอื่นก็ลองอาศัย เมนู Recommended Product อะไรก็ได้เพื่อเพิ่มยอดขาย หรือ หากอยากให้ลูกค้าลงทะเบียนสมาชิกก็พาเค้าไปที่หน้า ลงทะเบียนเลย หรือ อย่างมากอาจจะมี เงื่อนไขการสมัครแล้วก็ไปยังหน้าสมัครสมาชิก

ลองใช้หลักนี้กันดูนะครับ ^  ^

 

 

 

Apple.com ขึ้นประกาศการจากไปของ ศาสดาแห่งโลก IT – Steve Jobs

“Stay Hungry Stay Foolish” – Steve Jobs

“Do you want to sell sugar water for the rest of your life, or do you want to come with me and change the world?” -What Steve Jobs said to Pepsi executive John Sculley to lure him to Apple

Steve Jobs 1955-2011 RIP

Read More →

email_marketing_thai_book.gifวันว่างผมมักใช้เวลาอยู่ในร้านหนังสือ เพื่อหาหนังสือใหม่ๆ น่าสนใจมาอ่านประดับความรู้อันน้อยนิดของผม แล้ววันนี้ก็ได้มาอีกเล่ม หลังจากเปิดพลิกไปมาครู่หนึ่งก็ตัดสินใจซื้อซะเลย หนังสือที่ว่าคือ หนังสือ E-mail Marketing : การตลาดด้วยอีเมล์ “ ของสำนักพิมพ์ IM Books เขียนโดย กันต์ฐศิษฎ์ เลิศไพรงาม

เป็นหนังสือที่น่าสนใจดีทีเดียว และน่าจะเป็นเล่มแรกที่เป็นเรื่องของการทำการตลาดด้วย email ล้วนๆ หากใครที่คุ้นเคยกับการทำ Direct Mail หรือ  Database Marketing มาก่อนจะเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะ Email Marketing คือการทำ Direct Mail แต่เปลี่ยนจากการส่งไปรษณีย์ปกติมาเป็น email ส่วนวิธีการ ขั้นตอนไม่ต่างกันนัก ไม่ว่าจะเป็นการทำ Database Segmentation หรือ คำนวณ RFM Value Analysis (Recency,Frequency และ Monetary) เพื่อส่งให้ถูกกลุ่มลูกค้าต่างๆกันได้ถูกกลุ่ม แต่สิ่งที่ทำให้ email ต่างจาก direct mail คือความประหยัด วัดผลเป็นตัวเลขได้ดีกว่า เมื่อส่ง EMail ไปแล้วรู้ได้ว่าผู้อ่านเปิดไม่หรือไม่จาก Tracking Script ใน email ขณะที่ ไปรษณีย์ปกติจะวัดผลยากกว่า ลองมาดูว่าภายในบรรจุอะไรไว้บ้างกัน

สารบัญ :

บทที่ 1 พลังอำนาจของอีเมล์
บทที่ 2 แนวความคิดของการตลาดด้วยอีเมล์
บทที่ 3 การวางแผนแคมเปญการตลาดด้วยอีเมล์
บทที่ 4 การใช้อีเมล์หาลูกค้าใหม่
บทที่ 5 การใช้อีเมล์รักษาลูกค้า
บทที่ 6 การสร้างสรรค์อีเมล์โฆษณา
บทที่ 7 การบริหารการตลาดด้วยอีเมล์
บทที่ 8 ความท้าทายและนวัตกรรมของการตลาดด้วยอีเมล์

หนังสือเล่มนี้เป็นปกแข็ง ราคา 799 บาท ซึ่งค่อนข้างสูงแต่ด้วยความหนา 400 กว่าหน้าและเนื้อหาอัดแน่น ก็เป็นเล่มที่น่าสนใจทีเดียว เพราะหนังสือประเภทนี้ไม่ค่อยมีคนไทยเขียน ใครมีทุนรอน และสนใจก็ลองหามาอ่านและทำตามดูครับ

Tags: , , ,

email-spam.jpgปัญหาทุกวันนี้ของนักกา่รตลาดที่ใช้ email ในการทำ e-marketing campaigns ก็คือ ทำอย่างไรถึงจะทำให้ email ที่เราส่งไปนั้นไม่ตกอยู่ในถัง spam หรือโดนลบไปจาก Inbox ก่อนที่ผู้รับจะเปิดอ่าน

จากการศึกษาของ Returnpath ผู้ให้บริการคำปรึกษาและวิจัยเรื่อง email marketing ได้ทำการสำรวจเรื่องของ email Spam พบว่ากว่า 44 % ของผู้รับจะไ้ด้รับ Junk email จากผู้ส่งที่ตนเองรู้จัก และยังสำรวจพบอีกว่า่ 55% ของผู้รับจะลบ email ที่ไม่ต้องการทิ้ง อีก 27 % จะืทำการกำหนดให้email ที่ไม่ต้องการนั้นเป็น Spam (mark or Report as spam) จากสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ผู้รับจะยินดีที่จะรับ email จากเราแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า email ที่เราส่งออกไปจะไม่ตกอยู่ใน Spambox หรือโดนลบทิ้งเพราะเป็น email ที่ไม่ต้องการ

Constant Contact ผู้ให้บริการโปรแกรมส่ง email แบบ online ได้ให้ข้อแนะนำในการลดปัญหาการตกถัง Spam ของ email ได้อย่างน่าสนใจดังนี้

  1. ใช้ชื่อที่มักจะรู้จักกันดีทั่วไปในการส่ง email ในช่อง from (from name)เช่น ชื่อของบริษัทคุณเอง ซึ่งแน่ล่ะ domain name หลัง @ ก็ควรจะเป็นdomain name ของบริษัท ฯลฯ เพราะ บริการ email ส่วนใหญ่เช่น yahoo, hotmail หรือผู้ให้บริการ email ที่มีชื่อเสียง จะใช้ความมีชื่อเสียงของบริษัทเป็นตัวแปรในการตัดสินว่า email นั้นเป็น Spam หรือไม่
  2. ใช้ Subject หรือชื่อเรื่องที่ชัดเจน บอกได้ทันทีว่า email ของท่านมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เช่น ” How to guide for decorating your house “, “เที่ยวเหนือในราคา…. บาทผ่านบัตรเครดิต…ยี่ห้อ…” จะเห็นว่า หัวเรื่องแต่ละอันที่ยกมานั้นบอกชัดว่าเราจะได้อ่านเรื่องอะไรเมื่อเปิด email
  3. เสนอเนื้อหาเกี่ยวข้อง แน่ล่ะถ้าคุณส่ง email ที่มีเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง โอกาสที่ผู้รับลบ emailของคุณในครั้งหน้่าย่อมมีสูงแน่นอน แถมยังเสียภาพพจน์อีกด้วยในสายตาผู้รับ
  4. ใช้ฐานข้อมูล Email ที่ทันสมัย หากคุณส่ง email ไปยังผู้รับที่ไม่มีตัวตนบ่อยครั้ง email ของคุณในครั้งหน้าก็มีโอกาสตกไปอยู่ในถัง Spam ได้เพราะ ISP หรือ ผู้ให้บริการ email จะมองว่ากำลังส่ง email ที่ผิดปกติออกไป ฉะนั้น หากคุณส่ง email ออกไปแต่ละครั้งแล้วมีผู้รับที่ไม่มีตัวตนหรือส่งแล้วเกิด Rejected Email ก็ควรลบ email นั้นออกจากระบบจะดีกว
  5. ยืนยัน email ระบบการยืนยัน email เป็นเหมือนหลักประกันว่าผู้รับต้องการรับ email จากเราแน่ ๆ เพราะเมื่อผู้รับสมัครรับ email จากเรา สิ่งที่เขาต้องทำต่อไปคือการยืนยันการเป็นสมาชิก เพราะหากผู้รัีบไม่ได้ทำการยืนยันก็หมายความว่าผู้รับอาจจะไม่ต้องการรับ email จากเราจริงๆก็ได้

ทั้งหมดคือข้อแนะนำจาก Constant Contact ครับ จริง ๆแล้วจะมี 6 ข้อแต่ผมเห็นว่าข้อแนะนำที่สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่อิงกับระบบการส่งemail ของ Constant Contact จะมีอยู่ 5 ข้อจึงนำมาลงเพียง 5 ข้อ วิธีการทั้ง 5 นั้นผมว่าเป็นลดโอกาสของจำนวน email ที่ตกจะในถัง Spam แต่ก็ไม่รับประกันว่าทุก Email ที่ส่งออกไปจะไม่ตกลงในถัง Spam อย่างไรก็ตามครับ หากสามารถลดจำนวน emailที่มีแนวโน้มจะตกในถังสแปมก็เท่ากับเพิ่มโอกาสในการเปิด email ของเราโดยผู้รับใช่มั้ยครับ สำหรับพวกที่ส่ง email แบบผู้รับไม่ยินยอมหรือไปซื้อ email มาจากที่ ๆ เราก็ไม่รู้ว่าผูู้็ขายเอา email มาจา่กไหน ก็ไม่ต้องสงสัยเลยครับว่า email ของคุณมีโอกาสอยู่ใน Spam Box หรือโอกาสเผลอหน้าใน Inbox ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ผมกว่าเรากลับมาที่การทำ e-Marketing Marketing แบบเทพจะดีกว่าครับ ในระยะยาวคุณจะสร้างสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า

แหล่งอ้างอิง : Making it to the Inbox

Tags: , , , ,