วันนี้ได้มีโอกาสคุยกับ ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เพราะท่านเป็นหนึ่งในผู้ร่วมวิทยากรร่วมกับผม และ เฮียมั่นคงจาก มั่นคง Gadget ในงานสัมมนา “จับขาช็อปยุคใหม่ให้อยู่หมัด สยบทุกช่องทางด้วย Omni-Channel Marketing” ครั้งแรกของไทย” ท่านได้ให้ความรู้ของคำว่าลูกค้าในภาษาอังกฤษไว้น่าสนใจครับ ท่านบอกว่า สำหรับค้าปลีกแล้วลูกค้ามี อยู่ 3 ประเภทคือ Consumer ,Customer และ Shopper

MUK_0331

  1. ลูกค้าที่อยู่หน้าร้าน คือ Consumer
  2. เมื่อลูกค้าเดินเข้าในร้าน คือ Customer
  3. เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าซื้อสินค้า น้่นคือ Shopper

ความได้เปรียบของ retail ที่ถ้าคุณรู้จัก Shopper ให้มากขึ้น คุณจะพบ Shopper ที่มีอยู่ 3 Level –

  • ขาจร จ่ายน้อยชอบโปร
  • ขาประจำ แต่ก็ยังสนใจโปร
  • สุดท้ายผมขอเรียกสาวก กลุ่ม Shopper ที่ซื้อโดยไม่สนใจว่าจะมีโปร หรือไม่ แต่ฉันจะซื้อล่ะ

และกลุ่มสุดท้ายที่แหล่ะครับที่สร้างยอดขายให้ค้าปลีกสูงเกิน 50% (ผมจะตัวเลขไม่ได้ครับ)

3 คำนี้ สามารถใช้ได้กับทั้งวงการค้าปลีกปกติ และช่องทางออนไลน์หรือ e-Commerce ครับ สำหรับเถ้าแก่ออนไลน์ สิ่งที่ต้องทำมากกว่ามีสินค้าแล้วเปิดร้านออนไลน์คือ การศึกษาให้ได้ว่า ลูกค้า ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เราสามารถทำให้เขาเหล่านั้่นเข้ามาในร้านเรา และเปลี่ยนจาก Customer มาเป็น Shopper และเป็น Shopperแบบระยะยาวได้อย่างไร

ประยุกต์ใข้ครับ สำหรับ 3 คำนี้!

 

 

สัมมนาฟรี! โดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) หัวข้อเรื่อง

“จับขาช็อปยุคใหม่ให้อยู่หมัด สยบทุกช่องทางด้วย Omni-Channel Marketing”

ในวันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม 2557 เวลา 13.00-16.30 น. ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล ถ.วิภาวดีรังสิต Student Lounge ชั้น 5 ห้อง 503

รับเพียง 100 ที่เท่านั้น ลงทะเบียน > http://bit.do/omniregister

Omni-Channel Marketing Seminar

omni-channel-guest

 

ปัจจุบันสื่อดิจิทัลกำลังมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคมากขึ้น จากแพลตฟอร์มที่ หลากหลาย และการมีอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต้องการใช้ประโยชน์จากช่องทางดิจิทัลในการค้นหาข้อมูลรายละเอียดของสินค้า ดูความคิดเห็นของผู้ที่เคยใช้สินค้าหรือบริการนั้นๆมาก่อน เปรียบเทียบราคาสินค้า และเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

แต่ในขณะเดียวกันลูกค้าก็ยังต้องการที่จะได้เห็น และจับต้องสินค้าโดยตรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ร้านค้า ออนไลน์ ยังไม่สามารถทำได้ แม้ความชอบของลูกค้าในแต่ล่ะช่องทางการซื้อขายมีความแตกต่างกัน แต่การปรับช่องทางการขายให้ประสาน เชี่อมโยงกันทั้งของหน้าร้านและร้านค้าที่เป็น ออนไลน์ เป็นสิ่งที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของลูกค้าในยุคนี้

หัวใจสำคัญในการนำร้านค้าไปสู่ลูกค้าในยุคปัจจุบัน คือ ลูกค้าต้องเข้าถึงร้านค้าได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะผ่านทางโลก Online, Application, Smartphone หรือผ่านตัวร้านค้าเอง สิ่งเหล่านี้จะสามารถผลักดันให้กลุ่มธุรกิจ SMEs หรือกลุ่ม E-commerce ในเมืองไทยเติบโตสูงขึ้น โดยธุรกิจที่มีเฉพาะช่องทางหน้าร้านแบบเดิมๆ จะต้องเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มช่องทาง ออนไลน์ต่างๆมาใช้ร่วมกับช่องทางเดิมที่มีอยู่เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการซื้อขายสินค้านำไปสู่ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ มีความน่าตื่นเต้น สามารถสร้างอารมณ์ร่วม และประสบการณ์การซื้อสินค้า รวมทั้งสร้างความผูกพันให้กับแบรนด์ ทำให้รักษาฐานลูกค้าเดิมได้ จนก่อให้เกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาว

ดังนั้นเจ้าของธุรกิจในปัจจุบันจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ รวมถึงต้องหาแนวทางในการรับมือและป้องกันกับปัญหาซึ่งอาจจะเกิดขึ้น โดยใช้การตลาดรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Omni-Channel Marketing สร้างให้ธุรกิจสามารถดำเนินได้อย่างราบรื่นต่อไปในอนาคต

ในโพสก์เรื่อง “Omni Channel Retailing อนาคตค้าปลีก” ผู้เขียนได้เกริ่นคร่าวๆ ให้เข้าใจถึงเรื่อง Omni Channel Retailing ซึ่งเป็นการปฏิวัติการชอปปิ้งสมัยใหม่ที่เป็นการนำการค้าการขายแบบร้านดั้งเดิม หลอมหลวมให้เป็นเนื้อเดียว กับการค้าในรูปแบบ Seamless ซึ่งเน้นการค้าการขายแบบออนไลน์ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

ลูกค้าคนหนึ่งสามารถที่จะสั่งซื้อสินค้าจากออนไลน์และไปรับสินค้าที่ร้านค้าจริงที่ใดก็ได้ หรือ สั่งจากร้านค้าเสมือนที่ใดๆก็ได้ โดยไม่ต้องเห็นของจริง และเมื่อสั่งสินค้าแล้วลูกค้าก็รอรับสินค้าที่บ้านหรือที่ๆต้องการให้ผู้ขายไปส่ง ซึ่งอำนวยความสะดวกสบายให้กลับลูกค้าเป็นอย่างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด อย่างเช่น กรณีของ Tesco ในเกาหลีที่ต้องการเป็นผ้นำค้าปลีก Hypermart จึงเปลี่ยนชื่อ เป็น Homeplus และ Read More →

ยามเช้าก่อนเริ่มงาน เกวลิน เกิดต้องใจกับ หมวกใบเก๋ ของร้านชื่อดังแห่งหนึ่ง เธอตัดสินใจสั่งซื้อหมวก จากMobile App ของร้านนี้บน Tablet ของเธอ เพราะความสะดวกของช่องทางในการรับสินค้าของร้าน ทำให้ เกวลิน ตัดสินใจรับสินค้าที่ร้านสาขาใกล้ออฟฟิศของเธอเพื่อจะได้ส่วนลดอีก 10% ในตอนเย็น

และแน่นอน ตกเย็น เธอไม่พลาดไปรับหมวกใบเก๋ที่สั่งไว้และคิดว่าคงประหยัดเงินได้อีกหลายตังค์ แต่ด้วยจริตของผู้หญิงที่รักการแต่งตัวยิ่งชีวิต แฟชั่นของซีซั่นที่กำลังจะมาแต่ยังไม่มีใน Mobile App ปรากฏอยู่บน “Simulated Fashion Board”  Read More →

e-Leader Magazine มกราคม 2557บทความนี้เป็น บทความแรกที่ผมเขียนไว้ในคอลัมน์ใหม่ที่ชื่อ eBusiness 360 องศา ซึ่งทาง บ. ARIP ได้เปิดคอลัมน์ใหม่ ในหนังสือ eLeader/eEnterprise ในคอลัมน์นี้ ผมจะเล่าเรื่องต่างๆที่น่าสนใจของวงการ eBusiness และ เป็นแนวทางให้องค์กรต่างๆนำไปเป็นแนวคิด ปรับใช้เพื่อประโยชน์ต่อองค์กรของท่าน

ติดตามบทความของผมได้ในหนังสือ eLeader/eEnterprise ตั้งแต่ ม.ค. 2557 หลังจากหนังสือออกขายไปในระยะเวลาพอควรผมจะนำมาลงไว้ให้อ่านกันครับ

จับตา e-commerce 2014 ไทยไปทางไหน

จากการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในสิ้นปี 2556 มูลค่าตลาด e-Commerce จะเติบโตอยู่ราวๆ 25-30 % โดยมียอดรวมประมาณ 1.32-1.35 ล้านบาท (เนื่องจากการปิดต้นฉบับก่อนสิ้นเดือน ธันวาคม 2556 ผู้เขียนขอยกเอาข้อมูลหลังครึ่งปีแรกมาอ้างอิงก่อนครับ) และคาดว่าจะเติบโตอีกในปีถัดๆไป

สถิติจาก ศูนย์วิจัยกสิกร

และปี 2557 นี้ Read More →